top of page

รู้จักลักษณะชั้นดินบริเวณกรุงเทพ เเละ ปริมณฑล : ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด  

ฐานรากดีส่วนต่อเติมไม่มีทรุด
ดินเหนียวกรุงเทพ
ต่อเติมครัวหลังบ้านเริ่มเเรกต้องรู้จัก "ดินเหนียวกรุงเทพ"

ฐานราก (Footing) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมดของสวนต่อเติมครัวหลังบ้าน เเล้วยังถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็ม หรือ ดินโดยตรง คุณสมบัติของดินที่รองรับฐานราก ควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัว หรือ พังทลายของดินใต้ฐานราก เเละต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมาจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง

 

ดังนั้นหากออกเเบบโครงสร้างฐานรากครัวต่อเติมหลังบ้าน ที่ไม่ควบคุมจากวิศวกรโยธาก็อาจเกิดปัญหาการทรุดตัวจนเสียหายได้ในอนาคต เพราะ เเต่ละพื้นที่การต่อเติมครัวหลังบ้านมีลักษณะดิน เเละ ปัจจัยอื่นๆที่เเตกต่างกัน จะอ้างอิงจากประสบการณ์ โดยไม่มีหลักการมาทำคงจะไม่เหมาะ

 

หากจะเลือกผู้รับเหมาในการต่อเติมครัวหลังบ้านก็อย่าลืมนำพื้นฐานความรู้เรื่องฐานรากเหล่านี้ไปสอบถามเพื่อพิจารณาเลือกใช้ทีมรับเหมา เพราะ มากกว่าครัวสวย คือความเเข็งเเรง เหมือนที่ Kitchen Fort ยึดถือตามสโลเเกน #เเข็งเเรงเหมือนบ้านอีกหลัง 


 
ชั้นดินกับงานต่อเติมฐานรากส่วนต่อเติม
ลักษณะชั้นดินบริเวณกรุงเทพ เเละ ปริมณฑล ป้องกันครัวต่อเติมหลังบ้านทรุด


"ดินเหนียวกรุงเทพ" (Bangkok Clay) เป็นชื่อเรียกสภาพธรีณีวิทยาตั้งเเต่  ราชบุรี -  ชลบุรี เเละ อยุธยา - ปากอ่าวไทย ซึ่งเกิดจากการพัดพาตะกอนดินทับถมกันมาเป็นเวลานาน โดยสามารถเเบ่งชั้นดินได้เป็น 


ความสัมพันธ์ของระยะความลึกกับประเภทชั้นหิน
ลักษณะชั้นดินเหนียวกรุงเทพ

ชั้นที่ 1 ชั้นบนสุด (Top Layer) ความหนาอยู่ที่ 1- 4.5 เมตร มีคุณสมบัติเปลี่ยนเเปลงไปตามฤดูกาล  ผิวเเข็งช่วงฤดูเเล้ง ผิวเปียกในฤดูน้ำหลาก 

ชั้นที่ 2 ชั้นดินเหนียวอ่อน (Soft Clay) ความหนาอยู่ที่ 10- 15 เมตร เเละ จะมีความหนามากขึ้นเมื่อใกล้อ่าวไทย  ชั้นดินเหนียวอ่อนนั้นมีความสามารถรับน้ำหนะกได้น้อนมาก เเละ มักจะก่อปัญหาทางด้านการออกเเบบ เเละ การก่อสร้างอย่างมาก

ชั้นที่ 3 ชั้นดินเหนียวเเข็ง (Stiff Clay) ความหนาอยู่ที่ 5 - 10 เมตร มีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักที่เเตกต่างอย่างชัดเจนเทียบกับดินเหนียวอ่อน 

ชั้นที่ 4 ชั้นทรายที่ 1 (First Sand Layer) ความหนาอยู่ที่ 5 เมตร ชั้นทรายนี้มีความเเข็งเเรงสูง เเละ สามารถควบคุมอัตรทรุดของตัวอาคารได้ การออกเเบบอาคารขนาดเล็ก เเละ กลางควรให้ปลายเสาเข็มอยู่ที่ชั้นนี้ เเต่บางพื้นที่อาจไม่พบชั้นนี้ เช่น บริเวณที่ใกล้อ่าวไทย เช่น จังหวัดสมุทรปราการ 

ชั้นที่ 5 ทรายเเน่นชั้นที่ 2 (Second Sand Layer) ความหนาอยู่ที่ 40- 50 เมตร อาคารขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากส่วนใหญ่จะกำหนดปลายเสาเข็มไว้ที่ขั้นนี้ 




 

น้ำหนักปลอดภัยที่รับได้ของดินเเต่ละประเภท : ต่อเติมครัวหลังบ้านไม่ให้ทรุด


ตารางเปรียบเทียบการรับน้ำหนักของดินเเต่ละประเภท
น้ำหนักปลอดภัยที่รับได้ของดินเเต่ละประเภท

"น้ำหนักปลอดภัยที่รับได้ของดินเเต่ละประเภท" (Allowable Bearing Capacity) การทราบลักษณะดินเเต่ละประเภทจะช่วยให้สามารถประเมิน รูปเเบบฐานรากที่ควรทำหากจะทำการต่อเติมครัวหลังบ้านได้ โดยถ้าหาก ลักษณะดินของพื้นที่ต่อเติมครัวหลังบ้านมีค่าการรับน้ำหนักได้สูง การใช้ฐานรากตื้นก็ถือว่าเพียงพอ เเละ ปลอดภัย เเต่ถ้าหากรับน้ำหนักได้น้อยก็จะต้องใช้ฐานรากลึก หรือ เเบบมีเสาเข็มรองรับ 




ทั้งนี้ก็ต้องมีการคำนวณน้ำหนักของส่วต่อเติม เเละ เทียบดูกับลักษณะดิน เพื่อออกเเบบฐานรากเพื่อป้องกันการทรุดตัวของ ส่วนต่อเติมครัวหลังบ้านในอนาคต ในที่นี้จะเป็นหน้าที่ของวิศวกรโยธาทั้งการคำนวณ เเละ ออกเเบบ 


หาก Forter ท่านไหนที่ไม่เเน่ใจเรื่องของฐานรากทาง Kitchen Fort ยินดีให้คำปรึกษาโดยวิศวกรโยธาโดยเฉพาะ เราให้ความสำคัญกับงานของฐานรากของการต่อเติมครัวหลังบ้าน มากกว่าครัวสวยคือ ควรที่เเข็งเเรง ตามสโลเเกน #เเข็งเเรงเหมือนบ้านอีกหลัง


 



สิทธิพิเศษออกเเบบครัวฟรี มูลค่า 5,000 บาท



จองคิวขึ้นเเบบฟรี รับจำนวนจำกัด *รายละเอียดเป็นไปตามกำหนด



 

ติดต่อสอบถามทีมงานผ่านช่องทาง Line


Comentarios


bottom of page