top of page

การตรวสอบการตอกเสาเข็มด้วย Blow Count เพื่อใช้ในการการต่อเติมครัวหลังบ้าน โดย Kitchen Fort



การนับจำนวนครั้งในการตอก ทางเทคนิคนิยมเรียกว่า Blow Count ซึ่งเป็นข้อมูลที่บอกถึงสภาพความหนาเเน่นของชั้นดินที่ตอกเสาเข็มลงไปในบริเวณที่ต่อเติมครัวหลังบ้าน เเละ เป็นจุดที่บอกว่าการตอกเสาเข็มเรียบร้อยหรือยัง นอกจากนั้นยังบอกน้ำหนักที่เสาเข็มจะรับได้เเบบคร่าวได้อีกด้วย


วิธีการนับ Blow Count โดยทั่วไปมี 2 เเบบ คือ


1. การนับการตอก 10 ครั้งสุดท้าย หรือ Last ten Blown ในการต่อเติมครัวหลังบ้าน

การนับเเบบนี้ คือ การนำค่าเฉลี่ยจากการตอก 10 ครั้งสุดท้ายที่ได้จากการคำนวณไปใช้ทำงานจริง โดยเสาเข็มต้องจมลงไปเกินหรือเท่ากับค่าที่คำนวณได้ ถึงเเม่ปลายเสาเข็มจะจมถึงระดับชั้นดินที่ต้องการเเล้วก็ตาม หากค่า Blow Count ยังไม่ได้ตามที่คำนวณได้ ต้องตอกส่งต่อไปเรื่อยๆ จนได้ค่า Blow Count ตามที่กำหนด


ในทางปฏิบัติสามารถนับ Last Ten Blow ได้ 2 วิธี คือวิธีการใช้ดินสอขีดตำเเหน่งที่เสาเข็มควนจมหลังการตอก 10 ครั้ง (ระยะ 10s) เเละ เมื่อตอกเสาเข็มครบ 10 ครั้ง ให้ตรวจสอบดูหากพบว่าเสาเข็มจมลงน้อยกว่าหรือเท่ากับ ค่า Blow Count ที่คำนวณไว้เเล้วก่อนหน้า ให้ยุติการตอกได้


2.การบันทึก Blow Count

จะทำการขีดเว้นบอกทุกระยะ 30 ซม. หรือ 1 ฟุต จากด้านบนของเสาเข็มประมาณ 3 เมตร บันทึกจำนวนครั้งของการตอกเสาเข็มในเต่ละช่วง 30 ซม. ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสียายของเสาเข็มจำนวนการตอก (Blow Count) ไม่ควรเกินกว่า 100 ครั้งต่อเสาเข็มลง 1 ฟุต


ปัจจัยที่มีผลต่อการคำนวณระยะการตอก 1 ครั้ง (s)

น้ำหนักของลูกตุ้ม, ระยะยกลูกตุ้มจากหัวเสาเข็ม, น้ำหนักของเสาเข็ม,น้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม เเละ พื้นที่หน้าตัดของเสาเข็ม


ตัวอย่างการตอกเสาเข็มหน้าพื้นที่ต่อเติมครัวลังบ้าน

เป็นที่รู้กันดีว่าชั้นดินในเขตพื้นที่ กทม และ ปริมณฑลเป็นชั้นดินอ่อน โดยชั้นดินแข็งจะมีความลึกที่ระดับ 14-21 เมตร แล้วแต่เขตพื้นที่ การใช้เสาเข็มปั้นจั่นเล็กหรือที่เรียกติดปากว่า เสาเข็มไมโครไพล์ จะต้องมีความลึกไม่น้อยกว่า 9-14 ท่อน (1 ท่อนยาว 1.5 m) ในการตอก 1 ต้น การตรวจสอบที่สำคัญซึ่งเป็นตัวกำหนดความลึกของเสาเข็มและกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มที่ต้องการนั้น จะต้องมีการคำนวณ Last 10 blow count


Last 10 blow count เป็นเทคนิคที่ใช้ตรวจสอบการทรุดตัวหรือการจมลงของเสาเข็ม

ในระหว่างการตอกเสาเข็มเมื่อการตอกเริ่มยากขึ้น เริ่มตึง หรือเสาเข็มเริ่มจมดินได้น้อยลง จะใช้การขีดเส้นอ้างอิงที่เสาเข็ม 1 เส้น ต่อการตอกลูกตุ้ม 10 ครั้ง แล้วดูระยะห่างของเส้นที่ขีด โดยจะสามารถเช็คได้ว่าเสาเข็มจมลงไปเท่าไหร่ โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 1-3 ซม


ตรวจสอบการตอกเสาเข็มด้วย Blow Count



กรณีตัวอย่างตามภาพ การจมลงของเสาเข็มอยู่ที่ 1.0-1.5 ซม ( 1 ช่อง ต่อการตอกลูกตุ้ม 10 ครั้ง) ซึ่งหมายความว่าปลายของเสาเข็มลงไปอยู่ที่ชั้นดินแข็งแล้ว โดยจะต้องทำการหยุดตอกเสาเข็มต้นนั้น เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายของเสาเข็มได้ครับ ค่าการทรุดตัวที่ยอมให้จะมีการวิเคราะห์และตัดสินใจโดยวิศวกรโยธาหรือวิศวกรออกแบบ


ดังนั้นหากใครที่กำลังวางเเผนต่อเติมครัวหลังบ้าน เเละมีความกังวลเรื่องฐานราก สามารถมาปรึกษาทีมวิศวกรโยธาของ Kitchen Fort ดูก่อน เพราะ สิ่งที่เราให้ความสำคัญที่สุดคือความเเข็งเเรงตามสโลเเกน เเข็งเเรงเหมือนบ้านอีกหลังนั่นเอง


 

สิทธิพิเศษออกเเบบครัวฟรี มูลค่า 5,000 บาท


จองคิวขึ้นเเบบฟรี รับจำนวนจำกัด *รายละเอียดเป็นไปตามกำหนด


 

ติดต่อสอบถามผ่านช่องทางไลน์

https://bit.ly/47ewiOB

Comments


bottom of page